ia

......หมวดโคเนื้อและกระบือ

หมวดโคเนื้อปัจจุบันได้ทำการจัดแบ่งฝูงโคออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโคพื้นเมือง และกลุ่มโคอเมริกันบราห์มัน ส่วนกลุ่มโคลูกผสมพื้นเมือง - บราห์มันได้ลดปริมาณลงแต่ก็จะมีคงไว้เพื่องานเรียนงานสอนเท่านั้น ในส่วนที่มีการเพิ่มปริมาณขึ้น คือ กระบือปลักไทยเพราะในปัจจุบันจำนวนกระบือปลักมีจำนวนน้อยลงมากในภาพรวมของประเทศ วัตถุประสงค์ในการผลิตสัตว์ของหมวดฯ เราจะมุ่งเน้นนำสัตว์ที่ผลิตได้ในแต่ละปีนำมาใช้เพื่องานเรียนงานสอนตลอดจนงานทดลองวิจัยของนักศึกษา อาจารย์และข้าราชการของภาควิชาฯและส่วนราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบริการวิชการแก่ชุมชนมากกว่าการผลิตเพื่อสร้างรายได้ แต่เมื่อเสร็จจากงานเรียนงานสอนตลอดจนงานทดลองวิจัยแล้ว เราก็มีการจำหน่ายให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจนำไปเป็นแม่พันธุ์หรือขยายพันธุ์ต่อไป ในรอบปีที่ผ่านมาทางหมวดฯได้ทำการคัดเลือกพันธุ์ทั้งโคพื้นเมือง โคอเมริกันบราห์มันตลอดจนกระบือ เพื่อที่จะให้ได้สัตว์ที่ดีขึ้นและตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้นตัวเลขจำนวนสัตว์ปัจจุบัน แสดง ดังตาราง

จำนวนสัตว์ปัจจุบัน (สำรวจเมื่อ 17 ก.ค. 49)

ชนิด/พันธุ์

พ่อพันธุ์

แม่พันธุ์

ลูก/ผู้

ลูก/เมีย

รุ่น/ผู้

รุ่น/เมีย

รวม

โคพื้นเมือง

1

24

-

3

5

38

71

โคบราห์มัน

1

-

1

2

-

17

21

โคลูกผสม

-

-

-

-

5

2

7

กระบือ

1

8

4

3

4

10

30

กวาง

6

9

-

-

2

1

12

แพะ/แกะ

1

1

-

-

-

-

2

นกกระจอกเทศ

2

1

-

-

-

-

3


พื้นที่และอาคารปฏิบัติงาน

พื้นที่ทั้งหมด                                400 ไร่              
พื้นที่ใช้ประโยชน์ได้                     250 ไร่              
แหล่งน้ำ                                         10 ไร่
อาคารโรงเรือนทดลอง                      5 ไร่

  1. โรงเรือนโคพ่อแม่พันธุ์
  2. โรงเรือนอนุบาลลูกโคและโคพื้นเมือง
  3. โรงเรือนทดลองและวิจัย
  4. พื้นที่ถนน และลานจอดรถ

หมายเหตุ การใช้พื้นที่จะเป็นการใช้ร่วมกันในหลายๆ กิจกรรม โดยภารกิจหลักคือการเป็นแปลงเลี้ยงสัตว์ทดลอง และผลิตพืชอาหารสัตว์ ในส่วนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยตลอดจนการบริการวิชาการด้านการฝึกอบรมต่างๆนั้น ทางหมวดโคเนื้อต้องใช้พื้นที่แปลงหญ้าประมาณ 250 ไร่ ในการเตรียมโคเนื้อ 171 ตัวต่อปี


ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

การฝึกงานนักศึกษาระดับปริญญาตรี

1. วิชาฝึกงานหน่วย 3 (117 283)

เป็นการฝึกงานด้านการผลิตโคเนื้อพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ทุกคน ทั้งสองภาคการศึกษา จำนวน 420 คน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าฝึก โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการจัดการลูกโคเนื้อและกระบือเบื้องต้น การให้อาหารโคเนื้อ การจัดการด้านมูลโค และการจัดการฝูงโคเพื่อผลิตเนื้อโคที่มีคุณภาพ

2. วิชาฝึกงานหน่วย 5 (117 385)

เป็นการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางในการจัดการด้านการผลิตโคเนื้อ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ของภาควิชาสัตวศาสตร์จำนวน 75 คน โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้นได้แก่ ฝึกการจัดการให้อาหารโคในระยะต่างๆ ตั้งแต่โคเล็ก โครุ่น โคพ่อแม่พันธุ์ และการจัดการโคขุน การตรวจสุขภาพโคเนื้อ การฉีดยา การตรวจสัดและการผสมเทียม การถ่ายพยาธิ การตีเบอร์โค การวางแผนผังฟาร์ม การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เป็นต้น

การปฏิบัติงานสนามในรายวิชาต่างๆ

1. กลุ่มรายวิชาที่ใช้พื้นที่ในการปฏิบัติงานจำนวน 5 รายวิชา

ได้แก่ 117 101 การผลิตสัตว์เบื้องต้น, 117 331 กายวิภาคศาสตร์, 117 403 การผลิตโคนม, 117 432 การสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง, 117 461 สุขศาสตร์สัตว์
เป็นการฝึกปฏิบัติการด้านการจัดการฟาร์มที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในภาคบรรยาย การศึกษาโครงสร้างกายวิภาคของเปรียบเทียบระหว่างโคเนื้อ โคนม และกระบือจากตัวสัตว์จริงนอกเหนือจากห้องปฏิบัติการ  ความแตกต่างของสายพันธุ์โคเนื้อ โคนม โคยุโรป โคอินเดีย และกระบือ  การเก็บตัวอย่างเลือด มูล และอื่นๆจากโคเนื้อเพื่อตรวจสุขภาพ จำนวนนักศึกษา 75 คน/วิชา และต้องเตรียมโคเนื้อให้กับอาจารย์ผู้สอนจำนวนไม่ต่ำกว่า 171 ตัวต่อปี

2. วิชาโครงงานทางการเกษตรที่นักศึกษาใช้พื้นที่การทดลอง

หมวดโคเนื้อให้บริการด้านการศึกษาปัญหาพิเศษแก่นักศึกษาปริญญาตรี เน้นหัวข้อทางด้านการแก้ปัญหาการผลิตโคเนื้อ เช่น การจัดการลดการตายในโคเนื้อก่อนหย่านม การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเป็นอาหารโคเนื้อ การขุนโค การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตโคพื้นเมือง เป็นต้น ซึ่งมีประมาณ 4-6  เรื่องต่อปี ต้องใช้พื้นที่ 12 ไร่/งานทดลอง

3. การทดลองสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา : วิทยานิพนธ์

นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 4 คน, ปริญญาเอก จำนวน 2 คน


ภารกิจด้านการวิจัย

งานวิจัยด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์

การวิจัยด้านการศึกษาสรีรการตอบสนองต่อความเครียดเนื่องจากความร้อนในโคพื้นเมืองไทยและความดีเด่นด้านความสมบูรณ์พันธุ์ในโคพื้นเมืองเป็นงานวิจัยที่มีกลุ่มวิจัยทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

งานวิจัยด้านการผลิตและโภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ภาควิชาสัตวศาสตร์เน้นการผลิตโคเนื้ออินทรีย์ การขุนโคให้มีเนื้อที่มีคุณภาพ การผลิตโคพื้นเมือง การวิจัยเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการขุนโคพื้นเมืองเปรียบเทียบกับการใช้ลูกผสมบราห์มันและลูกผสมโคยุโรป การค้นคว้าวิจัยด้านการค้นหาทรัพยากรอาหารสัตว์ท้องถิ่นเพื่อทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปัจจุบัน และการหาความต้องการโภชนในโคพื้นเมืองไทย

งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์

การจำแนกโคพื้นเมืองและปรับปรุงสายพันธุ์โคพื้นเมืองสายอีสาน กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาการค้นหาใช้เครื่องหมายพันธุกรรม (genetic markers) ที่จำเพาะกับโคพื้นเมืองไทยจาก microsatellite และ mitochondria ได้รับการสนใจและสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก (สกว) ร่วมด้วย


ภารกิจด้านงานบริการวิชาการ

การฝึกอบรมให้แก่กลุ่มเกษตรกร

หมวดโคเนื้อมีการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรในหลายด้าน เช่น การเลี้ยงโคพื้นเมือง การเลี้ยงโคขุน การจัดการปศุสัตว์อินทรีย์ โดยมีการจัดอบรมอย่างน้อย 2-3 รุ่นต่อปี แต่ละรุ่นมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 20-40 คน

การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต

หมวดโคเนื้อมีการให้บริการด้านการให้ความอนุเคราะห์มูลโคเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย

การสาธิตเทคโนโลยีและกระบวนการต้นแบบ

หมวดโคเนื้อให้บริการด้านเป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานด้านการผลิตโคเนื้อให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยการนำของผู้นำท้องถิ่น (อบต) นักวิจัยจากประเทศในกลุ่มอินโดจีน เช่น ลาว เวียดนาม จีน และผู้สนใจอื่นๆไม่ต่ำกว่า 100 คนต่อปี เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีระบบฟาร์มการผลิตโคเนื้อที่มีสายพันธุ์โคเนื้อให้เยี่ยมชมหลากหลาย เช่น โคพื้นเมือง โคบราห์มัน โคลูกผสม โคขุน โดยเฉพาะกระบือซึ่งได้รับการสนใจจากนักวิจัยชาวต่างชาติเข้าเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง และเยี่ยมชมงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชุน


แนวทางการพัฒนา

หมวดโคเนื้อมีความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนสัตว์จากปัจจุบัน 170 ตัวเป็น 200-250 ตัวต่อปี เพื่อรองรับการเรียนการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการตามภารกิจ ตลอดจนการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการฟาร์ม และเพิ่มรายได้ด้านการผลิตเนื้อโคขุน การจำหน่ายโคพื้นเมืองพันธุ์ดีให้กับเกษตรกร เพื่อสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่นตามนโยบายการพึ่งตนเอง จึงมีแนวการของบประมาณดังนี้ วางระบบรั้วเพื่อพัฒนาพื้นที่บางส่วนเป็นฟาร์มสาธิตในการผลิตโคขุนแบบปศุสัตว์อินทรีย์ โรงเรือนโคพื้นเมือง เพื่อรองรับการผลิตจำหน่ายและงานวิจัย โรงเรือนหมวดสัตว์ทางเลือก (แพะ, แกะ, กวาง, กระต่าย และสัตว์ป่า) เนื่องด้วยปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ดูแลและอาศัยโรงเรือนของหมวดโคเนื้อ การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต


แผนที่หมวดโคเนื้อ

ดูรายละเอัียดแผนที่หมวดโคเนื้อ >> คลิ้กที่นี่


รายงานประจำปี

ดูรายละเอัียดภารกิจและการให้บริการจากรายงานประจำปีหมวดโคเนื้อ >> คลิ้กที่นี่


รายละเอียดการบริการด้านการเรียนการสอน

  • 2549-2550
  • ร่วมสอนและฝึกงาน วิชา 117283 ฝึกงานหน่วย 3 จำนวน 96 ชั่วโมง/ 2 เทอมของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทั้งหมดของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ร่วมสอนและฝึกงาน วิชา 117385 ฝึกงานหน่วย 5 จำนวน 96 ชั่วโมง/2 เทอม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 28 คน / ปี
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117403 การผลิตโคเนื้อและกระบือ จำนวน 2 กลุ่ม ๆละ 40 คน /สป./3 ชั่วโมง/กลุ่ม รวม 9 สป./เทอม
  • บริการสัตว์ทดลองในการสอนบทปฏิบัติการวิชา 117461 สุขศาสตร์สัตว์ (การตรวจโรคแท้งติดต่อ) จำนวน 4 วัน ๆ ละ 3 ชม. จำนวน นศ. 80 คน
  • บริการสัตว์ทดลอง (กวาง) แก่นายจารึก ณัฏฐากรกุล ในการฝึกทักษะการรีดน้ำเชื้อ นศ.ป.เอก ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บริการสัตว์ทดลอง (โคชำแหละ 2 ตัว) แก่ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ 117410 ระดับปริญญาตรี
  • บริการสถานที่ให้แก่ นศ.คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาประติมากรรม วิชา 862111 วิชากายวิภาค 2 (Anatomy) ในการฝึกปฏิบัติงานวาดภาพสัตว์เวลา 13.00-16.00 น. (12 มิ.ย. 49)
  • บริการสัตว์ทดลอง คอก ในการฝึกทักษะการทำน้ำเชื้อแช่แข็งในโคพื้นเมือง แก่นายดำรงรักษ์ รักวงษ์ฤทธิ์ นศ.ปริญญาโท
  • บริการสัตว์ทดลอง แก่ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ 117410 ปริญญาตรี (การคัดเกรดโคเนื้อ) ผอมมาก-ปานกลาง อ้วน-อ้วนมาก
  • บริการสถานที่-สัตว์ ในการเรียนวิชา 117452 การสำรวจรูปแบบในการผสมพันธุ์สัตว์ (โคเนื้อ) แก่นศ.ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บริการสถานที่ – สัตว์ทดลอง ในการอบรมการให้ยาสัตว์แก่เกษตรกร (โครงการอบรมเกษตรกร รศ.ดร.สุทธิพงศ์ อุริยะพงษ์สรรค์)
  • 2548
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117 101 หลักการผลิตสัตว์ จำนวน 4 กลุ่ม ๆ ละ 3 ชั่วโมงต่อกลุ่ม รวมจำนวนนักศึกษา 250 คน / ปี
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117 403 การผลิตโคเนื้อและกระบือ จำนวน 2 กลุ่ม / สัปดาห์ กลุ่มละ 3 ชั่วโมง รวม 10 สัปดาห์ จำนวนนักศึกษา 79 คน
  • ร่วมให้การฝึก วิชา 117 283 ฝึกงานหน่วย 3 จำนวน 96 ชม. /  เทอม / 2 เทอม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 230 คน / ปี
  • ร่วมให้การฝึก วิชา 117 385 ฝึกงานหน่วย 5 จำนวน 96 ชม. / เทอม / 2 เทอม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 20 คน / ปี
  • บริการสัตว์ทดลอง ในการสอนบทปฏิบัติการวิชา 117 461 สุขศาสตร์สัตว์ จำนวน 4 วันๆละ 3 ชั่วโมง นักศึกษาจำนวน 80 คน
  • บริการสัตว์ทดลอง ในการสอนบทปฏิบัติการวิชา 117 410  หลักวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
  • บริการสัตว์ทดลอง ในการสอนบทปฏิบัติการวิชา 117 452การปรับปรุงพันธุ์สัตว์

รายละเอียดการบริการด้านงานวิจัย

  • 2549-2550
  • บริการสถานที่ – สัตว์ทดลอง (แกะ) แก่นางสาวพานทอง กุลสันติวงศ์ นศ.ปริญญาโท สาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ในการทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง การทดสอบความไวของเชื้อต่อยาในเชื้อ Helicobacter pylori
  • บริการสถานที่ แก่ รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์ ในการทำวิจัย เรื่อง วิจัยเทคโนโลยีในการขุนโคเนื้อด้วยมันสำปะหลังและผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
  • บริการสถานที่ – และสัตว์ทดลองแก่ รศ.ดร.เทวินทร์ วงษ์พระลับ ในการทำวิจัย เรื่อง การแช่แข็งและการย้ายตัวอ่อนที่ผ่านการคัดเพศในโคพื้นเมือง
  • บริการสถานที่ – สัตว์ทดลอง แก่นายเด่นพงษ์ สาฆ้อง นศ.ปริญญาเอก ภาควิชาสัตวศาสตร์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการทำปัญหาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาของฟอลลิเคิลในรังไข่แม่กระบือปลักไทย
  • บริการสถานที่ – สัตว์ทดลอง แก่ รศ.ดร.สุทธิพงศ์ อุริยะพงษ์สรรค์ ในการทำงานวิจัย เรื่อง การศึกษาปริมาณและองค์ประกอบทางเคมีของมูลและการใช้ประโยชน์ของอาหารหยาบในโคขังคอก (ม.ค. – เม.ย. 49)
  • บริการสถานที่ – สัตว์ทดลอง แก่นางสาวชนาณัฐ แก้วมณี นศ.ปริญญาโท ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยาของแมลงวันคอกสัตว์และการใช้หลักสุขาภิบาลในการลดประชากรแมลง (พ.ค. 49 – เม.ย. 50)
  • บริการสถานที่ – คอกสัตว์ทดลอง แก่นายกฤษฎา บุญนพ นศ.ปริญญาโท ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษากระบวนการผลิตและการใช้ประโยชน์ของโปรตีนจากมันเส้นหมักยีสต์ต่อกระบวนการหมัก การสังเคราะห์จุลินทรีย์โปรตีน และความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะในสัตว์เคี้ยวเอื้อง (มิ.ย. – ต.ค. 49)
  • 2548
  • ปัญหาพิเศษ เรื่อง “การวิเคราะห์ค่าพื้นฐานทางโลหิตวิทยาของโคเนื้อ” ของนส. จริญญา มุ่งม่าน, นส. ดลหทัย อ่อนภูธร และนส. อรชุดา ขำเทศเจริญ นักศึกษาปริญญาตรี
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบแหล่งพลังงานในสูตรอาหารข้นต่อปริมาณการกินได้ รูปแบบการหมัก” ของนายเวียงสกุล นาประเสริฐ นักศึกษาปริญญาโท
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลของการประสานเวลา อัตราการย่อยสลายพลังงานและการปลดปล่อยไนโตรเจนในสูตรอาหารโคเนื้อ” ของนายทรงศักดิ์ จำปาวะดี นักศึกษาปริญญาเอก
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “อิทธิพลของระดับมันเส้นและมาเลทต่อการสังเคราะห์จุลินทรีย์โปรตีนในรูเมนและผลผลิตน้ำนมในโคนม” ของนายสิทธิศักดิ์ คำผา นักศึกษาปริญญาโท
  • โครงการวิจัย เรื่อง “ การพัฒนาการใช้ต้นอ้อยเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง” ของ รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์

รายละเีอียดการบริการด้านอื่นๆ

  • 2549-2550
  • เป็นวิทยากรบรรยายในการศึกษาเข้าดูงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตศึกษา 9 ได้นำเด็กพิการและผู้ปกครอง บุคคลากรศูนย์จำนวน 40 คนเข้าดูงานหมวดฯ
  • เป็นวิทยากรบรรยาย ในการศึกษาเข้าดูงานของคณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและกระทรวงสาธารณสุขภูฏานเข้าเยี่ยมชมหมวดฯ
  • 2548
  • อนุเคราะห์การเก็บมูลโคเนื้อเพื่อตรวจหาเชื้อ E.coli ของ ดร.เสาวนิต ทองพิมพ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น